วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 2
โจทย์ 
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่ ถ้าเป็นระบบอะไรคือ I อะไรคือ P อะไรคือ O


การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System

I คือ

       หลังจากที่ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยที่ได้อายุในการตัด คือประมาณ 10 เดือนขึ้นไป หรือแล้วแต่พันธุ์อ้อยก็จะบรรทุกส่งเข้าโรงงานซึ่งปกติจะกำหนดเปิดหีบอ้อยประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคมของทุกปี เมื่ออ้อยมาถึงโรงงานจะผ่านระบบจัดคิว แล้วจึงไปที่ห้องชั่งเพื่อแจ้งชื่อหรือหมายเลขชาวไร่อ้อย และชั่งน้ำหนักรวมทั้งอ้อยและรถบรรทุก จากห้องชั่งรถอ้อยแต่ละคันจะไปรอจัดคิวในลานจอดรถหน้าแท่นเทอ้อย เมื่อรถบรรทุกอ้อยถูกยกบนแท่นเทอ้อย อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ ส่วนรถอ้อยที่เทอ้อยออกแล้วจะกลับไปชั่งน้ำหนักรถเปล่าอีกครั้ง เพื่อจะได้ทราบน้ำหนักสุทธิของอ้อย
      เมื่ออ้อยถูกหีบที่ลูกหีบชุดแรกในระยะเวลาพอสมควร ตัวอย่างน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดแรกอย่างน้อย 1 ลิตร จะถูกส่งไปในห้องปฎิบัติการ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาความหวานของแต่ละคันรถ โดยจะมีสัญญาณไฟฟ้าบอกถึงลำดับคิวของรถนั้นๆ และบอกว่าน้ำอ้อยตัวอย่างของรถแต่ละคันมาถึงแล้ว ซึ่งจะได้ข้อมูลเก็บไว้เป็นหลักฐานว่า อ้อยแต่ละคันรถมีค่าความหวานเป็นเท่าไร หลังจากนั้นค่าความหวานจะถูกส่งไปป้อนคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณราคาอ้อยของรถแต่ละคัน ตามน้ำหนักและรายชื่อชาวไร่เจ้าของอ้อยที่ได้จากห้องชั่ง

P คือ
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว
การผลิตน้ำตาลทรายขาวโดยใช้น้ำตาลทรายดิบเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ประกอบด้วยขั้นตอนการผลิต 5 ขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกัน
1. การละลายและกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (Dissolving &
2. การเคี่ยวตกผลึก
(Crystallization)
3. การปั่นแยกผลึก
(Centrifugation)
4. การอบ
(Drying and Cooling)
5. การบรรจุและรูปแบบสินค้า (Packaging)
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลรีไฟน์
1. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) นำน้ำตาลทรายดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลทรายดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2. การทำความสะอาดและฟอกสี (Clarification) น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้น้ำเชื่อมรีไฟน์ (Refine Liquor)
3. การเคี่ยว (Crystallization) น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugation) แมสคิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาว
5. การอบ (Drying) ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย
โรงงานน้ำตาลโดยทั่วไปมีขั้นตอนกระบวนการผลิตน้ำตาลทราบดิบ น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลรีไฟน์ที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่ชนิดของเครื่องจักร จำนวนของเครื่องจักร และเทคโนโลยีของเครื่องจักร ซึ่งทำให้ได้ความสามารถในการผลิต (Productivity) ระยะเวลา พลังงานและทรัพยากรที่แตกต่างกัน ดังนั้นในขั้นตอนกระบวนการผลิต โรงงานหลายโรงงานได้พยายามศึกษาถึงต้นทุนของค่าการผลิต ต้นทุนค่าขนส่งและต้นทุนค่าบริหารการจัดการ และรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในแต่ละขั้นตอน โดยให้สามารถวัดเวลาและประสิทธิภาพในแต่ละขั้นตอนของการผลิตให้ได้เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องชี้วัด สิ่งนี้เป็นหัวใจของกิจกรรมโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังมีส่วนของการผลิตที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ และกระบวนการส่งออกของโรงงานน้ำตาลซึ่งผู้เขียนคงสรุปให้ในครั้งหน้าต่อไป สิ่งที่สำคัญของ Logistics และ Supply Chain ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอ้อยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยางพารา และอื่นๆเช่นกันที่สามารถพัฒนา Supply Chain ให้เข้มแข็งได้

สำนักโลจิสติกส์อุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

O คือ ผลผลิตที่ได้
1 น้ำตาลทรายขาว
2 น้ำตาลไฮโพล
3  กากอ้อย ได้มาจากกระบวนการหีบสกัดอ้อย สามารถเอาไปทำเป็นเชื้อเพลิงเพื่อเผาใหม้ในการผลิตไอน้ำของหม้อไอน้ำ นอกจากนั้นสามารถเอาไปทำเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และยังสามารถนำเป็นปุ๋ยหมักได้
4 โมลาสหรือกากน้ำตาล เป้นของเหลวที่ได้จากการปั่นแยกน้ำตาล เป็นน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้นและค่าสีสูง ไม่คุ้มค่าในการที่จะนำไปเคี่ยวเป็นผลึกน้ำตาล เพราะว่าจะเป้นเม็ดน้ำตาลที่ไม่ได้ขนาด และมีขนาดเล็ก นิยมนำไปหมักเป้นแอลกอฮอล์ เหล้า หรือไปผสมกับอาหารสัตว์ ทำซีอิ๊วดำ ทำผงชูรส
5 กากหม้อกรอง ได้จากกระบวนการกรองตะกอนของน้ำอ้อยที่ตกตะกอน ดึงเอาความหวานที่ติดอยุ่กับตะกอนออกก็จะเหลือกากหม้อกรอง นิยมเอาไปทำปุ๋ยเนื่องจากมีค่าที่เป้นกลางเพราะมีปูนขาวผสม หรือใช้ในการปรับสภาพดินก่อนปลูกพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น